บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ผู้วิจัย ธวัชชัย บุญหนัก
สถานที่ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 702 คน ได้มาโดยครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก (Sample Random Sampling) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และ ครูวิชาการโรงเรียน ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 75 คน ซึ่งได้มาของผู้ให้ข้อมูล โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูที่ปฏิบัติการสอน และนักเรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1900 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการดำเนินงาน และแบบประเมิน ระยะที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จำนวน 702 คน ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก (Sample Random Sampling) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
|