[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
.::ครอบครัวฟ้าแสด::.
[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
   
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book)เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

เจ้าของผลงาน : นางวิชญะวรากร ไชยสวาสดิ์
ศุกร์ ที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566
เข้าชม : 138    จำนวนการดาวน์โหลด : 14 ครั้ง
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 3 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
           การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการประดิษฐ์ท่ารำ 2)  เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) เพื่อทดลองใช้และหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่พัฒนาขึ้น  3.1)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการก่อนเรียนและหลังเรียน หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.2) เพื่อประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวคิดทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ 3.3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวคิดทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 35 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์  อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์  แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู ด้านบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าร้อยละ(Percentages)  ค่าเฉลี่ย    และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.
สถิติทดสอบ t แบบไม่อิสระ (Dependent Samples)
          ผลการวิจัย  พบว่า
           1. บริบทของโรงเรียน ความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการของนักเรียนและข้อมูลพื้นฐาน
ในการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  อยู่ในระดับมากที่สุด
           2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ซึ่งมี 5 องค์ประกอบได้แก่  1) หลักการและแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้  2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ  3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (2) ขั้นสาธิตทักษะ (3) ขั้นเข้าและปฏิบัติตาม (4) ขั้นฝึกฝนเกิดความชำนาญ  (5) ขั้นคิดริเริ่มและประยุกต์การแสดง 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ  5) ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้  โดยพบว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน(Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.92/83.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
           3. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า  3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3.2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับ มากที่สุด  3.3) ผลของความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวทฤษฎีทักษะปฏิบัติ ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน (Smart Book) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ท่ารำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก


ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ ตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 24/มี.ค./2566
      การพัฒนาชุดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์เรื่องแสงเชิงรังสี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ7ขั้น(7E) 21/มี.ค./2566
      การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 21/มี.ค./2566
      การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคCIRCเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเรื่องคำยืมภาษาต่างประเทศในการภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 21/มี.ค./2566
      การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 21/มี.ค./2566


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ admin@kws.ac.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป